Top

รักช้างไทย ในวันช้างไทย “ต้นแบบพรุ่งนี้ที่ดีกว่า-Build Back Better for Elephants”

 

สวัสดีวันช้างไทย 13 มีนาคม ของทุกปี

 

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกส่งแคมเปญเด็ดเพื่อรักษาสวัสดิภาพของช้างอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งหวังให้ “ช้างไทย”​มีสวัสดิภาพที่ดีอย่างยั่งยืนประเทศไทยจัดเป็นศูนย์กลางในการใช้ช้างในธุรกิจท่องเที่ยวและความบันเทิงเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวมานานหลายปี ซึ่งปัจจุบัน มีช้างไทยกว่า 3,000ตัวที่ถูกนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ช้างเหล่านี้จะถูกฝึกตั้งแต่ยังเล็กช้างเด็กจะถูกพรากจากแม่ตั้งแต่ยังเล็ก ถูกกักขัง เฆี่ยนตี ล่ามโซ่ ให้เชื่อฟังคำสั่งก่อนจะถูกส่งไปใช้งานตามปางช้างต่างๆ ผ่านกิจกรรมแสดงโชว์ ให้นักท่องเที่ยวขี่อาบน้ำ ฯลฯโดยที่ช้างเหล่านี้ไม่ได้มีโอกาสได้ใช้ชีวิตและแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ ในขณะที่กระแสการท่องเที่ยววิถีใหม่อย่างรับผิดชอบและยั่งยืนแบบไม่ทำร้ายช้างคือทางออก และโอกาสของธุรกิจการท่องเที่ยวทั่วโลกในอนาคต

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก World Animal Protectioยืนหยัดเคียงข้างช้างไทยโดยมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาสวัสดิภาพช้างตลอดมาผ่านการสนับสนุนให้เงินช่วยเหลือฉุกเฉิน “ปางช้างที่เป็นมิตรต่อช้าง” ทุกเดือน ตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิด-19ปีพ.ศ.2563 จนถึงปัจจุบัน เป็นจำนวน 9 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัดเพื่อให้ปางช้างสามารถอยู่รอดและพัฒนามาตรฐานสวัสดิภาพเข้มแข็งขึ้นได้แม้ในภาวะยากลำบากครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการดูแลช้างและควาญช้าง อาทิ ค่าอาหารช้างค่ารักษาพยาบาลช้าง เงินเดือนควาญช้าง เป็นต้น รวมงบประมาณกว่า 20ล้านบาทต่อปี และที่ผ่านมาองค์กรฯ
ยังขยายความช่วยเหลือปางช้างผ่านการให้เงินทุนงบประมาณ 2 ล้านบาท ผ่าน’โครงการพรุ่งนี้ที่ดีกว่าของช้าง’ (Build Back Better for Elephants)โดยล่าสุดปีนี้องค์กรฯพร้อมเดินหน้าเปิดรับสมัครปางช้างทุกแห่งที่มีความมุ่งมั่นจะพัฒนาสวัสดิภาพช้างให้สูงยิ่งขึ้น เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับพรุ่งนี้ที่ดีกว่าของช้างที่เป็นจริงได้อย่างยั่งยืน

นายฉัตรณรงค์ เมืองวงษ์ ผู้จัดการแคมเปญสัตว์ป่า กล่าวว่า“ในโอกาสวันช้างไทยซึ่งตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปีองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกขอประกาศเจตนารมณ์ว่าจะเราจะยืนหยัดเคียงข้างช้างไทย และปางช้างที่เป็นมิตรต่อช้างตลอดจนปางช้างทั่วไปที่มีความมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาสวัสดิภาพช้างผ่านโครงการความร่วมมือต่างๆ อีกมากมายรวมถึงการรณรงค์กับภาครัฐและประชาชนทั่วไปให้เห็นความสำคัญของสวัสดิภาพช้างมากยิ่งขึ้น ตลอดจนหยุดสนับสนุนกิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นการทำร้ายช้าง”ทั้งนี้ ที่ผ่านมาองค์กรฯได้มุ่งมั่นที่จะยกระดับการพัฒนาสวัสดิภาพช้างให้สูงขึ้นอีกโดยร่วมมือกับปางช้างทุกแห่งที่มีความมุ่งมั่นจะปรับเปลี่ยนและพัฒนาสวัสดิภาพช้างให้สูงยิ่งขึ้นอีก 4 ปางช้าง ด้วยการให้เงินทุนผ่าน “โครงการพรุ่งนี้ที่ดีกว่าของช้าง”(Build Back Better for Elephants) ใช้งบประมาณรวมกว่า 2 ล้านบาท ดังนี้

 
– การติดตั้งระบบน้ำบาดาลและการปลูกกล้วย ณ Sappraiwan Elephant
Resort & Sanctuary จ.พิษณุโลก (พฤศจิกายน 2564 – พฤษภาคม 2565)
– การปลูกกล้วย อ้อย และหญ้าเนเปียร์ ณ Elephant Peace Project
จ.เชียงราย (พฤศจิกายน 2564 – พฤษภาคม 2565)


– การทดลองเปลี่ยนโซ่ผูกช้างเป็นวัสดุสังเคราะห์น้ำหนักเบา ณ Somboon
Legacy Foundation จ.กาญจนบุรี (กันยายน 2565 – ปัจจุบัน)
– การก่อสร้างที่อยู่สำหรับช้างชราเพื่อช่วยเหลือช้างเพิ่ม ณ BEES – Burm
and Emily’s Elephant Sanctuary (ธันวาคม 2565 – ปัจจุบัน)

 
สำหรับ ‘โครงการพรุ่งนี้ที่ดีกว่าของช้าง’ (Build Back Better forElephants) ประจำปี 2566 นี้กำลังจะเปิดรับผู้สมัครเร็วๆ นี้ โดยปางช้างทุกแห่งที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดได้จากเว็บไซต์และช่องทางโซเชียลมีเดียขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมของงานได้ที่
www.worldanimalprotection.or.th

เครดิตภาพถ่าย World Animal Protection/Nicolas Axelrod

เกี่ยวกับองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection)
เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนระดับโลกมีสำนักงาน 14 แห่งทั่วโลก
รวมถึงประเทศไทยซึ่งได้มีการดำเนินการเพื่อปกป้องสัตว์จากความทุกข์ทรมาน
มาเป็นเวลา 55 ปีโดยมุ่งเน้นการยกระดับ สวัสดิภาพสัตว์ และยุติการทุกข์ทรมาน
และการทารุณกรรมสัตว์อย่างถาวร โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ ประเทศอังกฤษ
ที่ผ่านมาองค์กรฯ ได้ดำเนินกิจกรรมผ่านโครงการต่างๆ ในประเทศไทย อาทิ
โครงการส่งเสริมระบบอาหารอย่างยั่งยืน โดยยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ฟาร์ม
การยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต
ช้างไทยให้ดีขึ้นและเพื่อให้สัตว์ป่าทุกตัวได้มีโอกาสที่จะมีชีวิตอย่างมีอิสระตามธรรม
ชาติโดยตระหนักถึงความสำคัญ
ของคุณภาพชีวิตสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพชีวิตมนุษย์
และสิ่งแวดล้อมอย่างเกื้อกูลกัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อตัวแทนฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท SASI

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.